Translate

04 มิถุนายน 2553

ปั้นชาพุทธาคม ชงน้ำมนต์

ปั้นชาพุทธาคมนั้นเท่าที่รู้มานั้นมีมาตั้งแต่ยุคร.๕ประมาณร้อยปีมาแล้วครับ ซึ่งเป็นยุคที่ปั้นชาเฟื่องฟูมากที่สุดในประเทศไทยก็ว่าได้ครับ มีบันทึกไว้ในตำราจีนและไทยว่ามีการสั่งทำปั้นชาที่เมืองหยีซิงและส่งลงเรือมาเมืองไทย ซึ่งยุคนั้นเป็นของนำเข้า และการขนส่งคมนาคมไม่ได้สะดวกสบายเช่นทุกวันนี้ ปั้นชาจึงกลายเป็นของประดับบารมีของคนชั้นสูงที่หลายคนอยากมีไว้ครอบครอง วันนี้เราจะไม่คุยลึกเรื่องนี้ แต่เราจะมาดูปั้นชาใบนี้กัน ใบนี้ผมได้มาจากโรงงานที่เมืองจีนครับ คาดว่าเป็นสินค้าที่คนไทยยุคหลังไปสั่งทำ อาจจะด้วยตราประทับไม่สมบรูณ์ เค้าจึงคัดออกและตกค้างในสต็อก ตอนที่ผมไปเจอตัวเค้าถูกปกคลุมด้วยฝุนอย่างหนาเลยครับ พอจับขึ้นมาพลิกดูเห็นตราประทับก็รู้เลยเค้าอยากมาอยู่เมืองไทย เราก็เลยช่วยสงเคราะห์ให้เลยครับ ปั้นใบนี้เป็นปั้นบล็อคแบบปั้นสายครับ คาดว่าพ่อค้าเมืองไทยไปสั่งทำเพื่อเลียนแบบปั้นเก่า น่าจะทำในยุคหลังๆแล้วครับ เพราะเอกลักษณ์ต่างๆบ่งบอกครับ แต่ก็ไม่ใช่งานทุกวันนี้ครับ ส่วนเนื้อดินก็เป็นเนื้อจวูหนีทำผิวส้มครับ ตรายันต์ก็แกะประทับแบบนูนครับ ส่วนใต้ฝาก็ประทับยันต์แบบเว้าลึกลงไปในเนื้อดินครับ ปั้นชาตรายันต์นั้นมีทำเลียนแบบมาหลายยุคหลายสมัยแล้วครับ มีทั้งปลอมเก่าฝีมือดีและปลอมใหม่งานหยาบๆก็เจอบ่อยครับ ปั้นเก่าจริงถึงยุคผู้เป็นเจ้าของก็คงหวงแหนเก็บรักษาอย่างดี คงไม่ค่อยมีหลุดมาในท้องตลาด ส่วนที่เห็นในร้านขายของเก่าส่วนมากจะไม่ค่อยถึงยุคกันครับ





ใบนี้เป็นปั้นสายครับ


ลิ้นลึกกำล้งดี แสดงถึงช่างที่มีทัศนคติเข้าใจปั้นชาที่ดี



มาดูในท้องปั้นกันครับ



ตราประทับไม่สมบรูณ์ ยันต์ตรีนิสิงเห



เนื้อจูหนี ผิวสาลี่หรือผิวส้ม นิยมทำกันในยุคก่อนๆ จะเห็นเป็นเม็ดๆคล้ายกับผดผื่น



ใต้ฝาประทับยันต์เฑาะว์



รูกรองแบบเจ็ดรู บ่งบอกถึงปั้นชาที่ไม่เก่ามาก



รูปทรงสวยได้สัดส่วนครับ




หูหิ้วทองเหลืองลักษณะจะยังไม่เก่ามากครับ ทุกวันนี้ก็ยังมีผลิตอยู่ครับ



ฝีมือการต่อหูหิ้วที่พอใช้ได้



ตรายันต์ค่อนข้างใหญ่ ถ้าช่างไม่บรรจงประทับ ก็จะได้ยันต์ไม่เต็มแผ่น


1 ความคิดเห็น: