Translate

06 มิถุนายน 2553

ปั้นชา ยี่กง 逸公

ท่านยี่กง 逸公 มีชื่อเต็มว่า หุ้ยยี่กง 惠逸公เป็นช่างปั้นชาที่ยิ่งใหญ่ในยุคราชวงค์หมิง ยุคเดียวกันกับท่านม่งเฉิน 孟臣หรือหุ้ยม่งเฉิน 惠孟臣 ซึ่งทั้งสองสืบสกุลมาในแซ่เดียวกัน แต่ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องหรือเป็นญาติกันเลย และเป็นสองศิลปินที่ยิ่งใหญ่ของวงการปั้นชาที่ชำนาญในการทำปั้นชาขนาดย่อมทั้งคู่ ปั้นชาของสองท่านนี้กลายเป็นสิ่งของที่นักสะสมปั้นชาต่างต้องการสรรหาเป็นอย่างมาก เรื่องราคายิ่งไม่ต้องพูดถึง เพราะยังคงเหลืออยู่ในโลกนี้ไม่กี่ใบนับชิ้นได้ ส่วนมากจะอยู่ในพิพิธภัณฑ์ในเมืองจีนและฮ่องกงมากกว่า ทีนี้มาพูดกันถึงที่เจอๆในบ้าน99เปอร์เซ็นต์เป็นของเลียนแบบครับ ก็มีปลอมมาตั้งแต่ยุคชิงแล้วละครับ และก็ยังมีของก็อบใหม่ๆมาจนถึงทุกวันนี้ครับ มีกระทั่งของเก่าเลี่ยมทองคำจนถึงของเปลือย ไม่เว้นแม้กระทั่งปั้นปังเคยก็เยอะครับ ณโอกาสนี้ผมก็มีโอกาสได้ครอบครองอยู่ใบหนึ่ง เป็นงานก็อบเก่า ปากกระเทาะไปบางส่วน แต่ส่วนอื่นสภาพค่อนข้างดี สะอาดสามารถชงชาได้เลยครับ เนื่องจากก็อบเก่าเนื้อดินจึงดีใช้ได้ครับ และงานก็ถือว่าดี เป็นดินจื่อหนีครับ เรามาดูรายละเอียดกันครับ

ปั้นชารูปทรงได้สัดส่วน มีเลี่ยมทองเหลืองตรงจุกที่เดียว ปั้นเก่าส่วนมากจะหุ่นอ้วนๆถ้วมๆ



สามจุดเป็นแนวเส้นตรงเดียวกัน ปาก จุก ด้าม


ด้ามเรียวสวย แข็งแรงสมส่วน และเป็นเส้นตรง


ปากเรียวและตรง เสียวดายที่บิ่นไปจริง


ถ้าคว่ำลงแล้วสามจุดขนานกับพื้นเท่ากันจะดี แต่ใบนี้ ปาก และ ด้ามจะสั้นกว่านิดหนึ่ง


รอยต่อตรงด้ามกับตัวปั้นเก็บงานได้ดีครับ


ตรงรอยต่อของปากกับตัวก็ต่อได้สมบรูณ์ครับ ให้สังเกตุดูเนื้อด้วยครับ



รอยต่อปากฝั่งบน ตรงฝาก็ปิดสนิทดีครับ


จุกทองเหลืองเจาะรูระบายอากาศได้เนียนครับ ตรงเลี่ยมเป็นฝีมือช่างไทยครับ

ทองเหลืองเก่าตามอายุครับ


ลิ้นยาวมีประโยชน์เพื่อกดใบชาและกันหมวกหล่นครับ


ดูกันอีกมุมครับ


ปั้นยุคเก่าจะมีรูน้ำไหลแค่รูเดียวครับ แต่ปั้นใหม่เจาะรูเดียวก็มีครับ

ปั้นมือหรือปั้นบล็อคให้ดูในท้องประกอบด้วยครับ


ถึงเธอจะปากบิ่น แต่เธอก็มีคุณค่าในใจฉันนะจะ


ใต้ปั้นเขียนเป็นบทกลอน เขียนด้วยโลหะครับ


ปั้นบางใบสามารถลอยน้ำได้ดีครับ แต่เดี๋ยวนี้มักไม่ค่อยให้ความสำคัญกัน เพราะไม่ได้ช่วยให้ชงชาหอมขึ้นเลยครับ




การไหลของน้ำก็ดีครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น