Translate

02 เมษายน 2558

การเรียนรู้ชาผูเอ่อร์ดิบ

การเรียนรู้ชาผูเอ่อร์ดิบ ;
 ที่สำคัญต้องชิมมากเรียนรู้ให้มาก สะสมประสบการณ์ เรียนรู้ว่าการชิมชาหนึ่งจอกต้องเริ่มต้นจากจุดไหนบ้าง และเรียนรู้ว่าจะเข้าใจและสื่อออกมาอย่างไร
การดื่มชาผูเอ่อร์แบ่งออกเป็นสี่ขั้นตอน _ _ ชมสี้น้ำชา _ _ ดมกลิ่นชา _ _ ชิมรสชาติชา _ _ พิจรณากากใบชา.
การชมและพิจรณาสีของน้ำชาผูเอ่อร์ดิบ

ขั้นตอนแรกที่สำคัญของการดื่มชาก็คือการชงชา ต้องใส่ชา ล้างชา รินน้ำชาออกมาเป็นอันดับแรก และเราก็จะสามารถชมสีของน้ำชาได้เป็นอันดับแรกๆของการดื่มชา
เรามาหัดชมสีน้ำชากันครับ เนื่องจากโพลีฟีนในใบชาจะระเหยไปอย่างรวดเร็วหลังจากสัมผัสอากาศ ทำให้น้ำชาเปลี่ยนสีได้ง่าย ดังนั้นควรชมสีน้ำชาอย่างรวดเร็วพอสมควร
โดยทั่วไปแล้วสีเข้มอ่อนของน้ำชาจะสะท้อนอายุของชา โดยทั่วไปแล้วสียิ่งอ่อนชาก็จะอายุอ่อน สียิ่งเข้มอายุของชาก็จะเพิ่มขึ้นตามลำดับ ความใสของน้ำชาหมายถึงคุณภาพของชาที่ดีและขั้นตอนการผลิตที่ได้มาตรฐาน โดยทั่วไปแล้วน้ำชายิ่งใสคุณภาพใบชายิ่งดี การผลิตก็ดีด้วย และน้ำชายิ่งหนืดข้น ยิ่งหนา แสดงถึงสสารรในใบชามีมากก็จะยิ่งชงทนได้มากน้ำ แต่ที่กล่าวมาเป็นได้แค่หลักพิจรณาโดยทั่วไป เพราะการเก็บอุณภูมิความชื้นจุลทรีย์ล้วนมีผลต่อสีของน้ำชา

การดมกลิ่นชาผูเอ่อร์ดิบ
ชาผูเอ่อร์ดิบมีกลิ่นที่ชวนหลงใหล ชาต่างพื้นที่จะมีกลิ่นที่แตกต่างกัน ถึงแม้ชาพื้นที่เดียวกันกลิ่นก็จะเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาที่เก็บ
กลิ่นที่มีคุณภาพของชาเป็นกลิ่นที่หอมและคงทน มีมิติและลุ่มลึก
ชาบางตัวมีกลิ่นหอมบางๆกลิ่นเดียว บางตัวมีกลิ่นที่หลากหลายซ่อนอยู่ เหมือนมีกลิ่นหอมหลายๆชนิมผสมอยู่ด้วยกัน และบางชนิดกลิ่นมีมิติ น้ำชาจากร้อนถึงเย็นจะได้กลิ่นที่ไม่เหมือนกัน
จากชาดิบคุณภาพดีที่สดใหม่ เริ่มเข้าสู่การหมักตัวตามธรรมชาติ ตามกาลเวลาที่เพิ่มขึ้น กลิ่นชาเริ่มจากกลิ่นหอมสดของใบชา จะคล่อยๆเปลี่ยนเป็นกลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ ผลไม้แห้ง กลิ่นหวานน้ำผึ้ง กลิ้นไม้แห้ง กลิ่นโสม กลิ่นยาจีนเป็นต้น
อาจมีชาบางส่วนเนื่องจากการเก็บไม่ดีทำให้มีกลิ่นแปลกปลอม เช่นกลิ่นไหม้ กลิ่นควัน กลิ่นรา กลิ่นที่ไม่พึงประสงค์เป็นต้น

การลิ้มรสชาติชาผูเอ่อร์ดิบ
ชาผูเอ่อร์เป็นชาที่ดื่มง่าย เรียนรู้ไม่ยาก แต่จะเรียนรู้ให้ซึ้งให้กระจ่าง อันนี้ค่อนข้างยาก รสชาติมีหวาน ขม ฝาด ที่สัมผัสได้ง่าย น้ำชามีบอดี้ หนา บาง  แก่ อ่อน กระด้าง นุ่ม ต้องใช้เวลาพอสมควรถึงจะแยกแยะได้
ชาดีๆเวลาดื่มลงคอแล้วจะ ลื่นใหลอ่อนนุ่ม รสชาติเต็มมีบอดี้  หุยกานแรงนานและกระตุ้นน้ำลายเป็นต้น
1. รสหวาน ชาดิบป่ามีรสชาติหวานอ่อนๆ หวานแบบสง่า ไม่ประเจิดประจ้า คุณภาพชายิ่งดียิ่งความหวานเด่นชัด ยิ่งชงน้ำหลังๆ จะยิ่งชงยิ่งหวาน
2.รสขม ขมมีขมมากและขมน้อย ชาสดจะขมเด่นชัด แต่ชาเก็บนานเข้ารสขมจะค่อยๆหายไป
3. บอดี้ ชาที่ดีน้ำชาจะหนา ความหนืดเยอะ ( เหมือนเยลลี่ ) เปรียบเทียบเหมือนกระดูกของน้ำชา และคงทนชงได้นาน ชาคุณภาพรองๆน้ำชาจะบางจะชงไม่ทน
4.น้ำชา น้ำชาที่ดีจะเปรียบได้ดั่งผ้าไหมที่ ละเอียด อ่อนนุ่ม เวลาดื่มจะไหลลื่น ชุ่มคอ ไม่สะดุด ถ้าชาไม่ดีจะกลับกันและติดฝาด
5. อาการในลำคอ ( ขอยืมคำจากเฮียปริญญาที้เคยกล่าวไว้คือ ความดื่มด่ำ ) ชาที่ดีจะมีความรู้สึกที่ดี หวาน กระตุ้นน้ำลาย และยาวนาน ถ้าชาที่ขั้นตอนการผลิตไมาได้มาตรฐาน หลังดื่มแล้วจะคอแห้ง
6.รสเปรี้ยวในชาดิบ ในชาดิบเป็นรสชาติที่ไม่ดี สาเหตุมาจากการผลิตที่ไม่ได้มาตรฐานหรือเก็บไม่ดี
*การดื่มชาผูเอ่อร์นั้น อุณหภูมิของน้ำชาต้องพอดี ถ้าน้ำชาร้อนเกินการรับรสจะชา มีผลกระทบต่อการรับรสปกติ
ถ้าน้ำชาเย็นแล้ว น้ำชาออกซิเดชันกับอากาศแล้ว จะทำให้รสชาติเปลี่ยนไปไม่สมดุล มีปลกระทบต่อการรับรสเวลาดื่ม
*ก่อนเวลาดื่มชา ถ้าจะให้ดีไม่ควรทานอาหารรสจัด เช่นเครื่องดื่มแช่เย็น อาหารรสจัดจ้าน เผ็ด เปรี้ยว ๆลๆ สุราบุหรี่ ลูกอม ๆลๆ สุภาพสตรีทาลิปมันลิปสติก ๆลๆก็มีผลต่อการรับรส ควรเช็ดออกก่อนดื่มชา ถ้าจะใหดีควรใจเย็นนั่งดื่มอย่างสุนทรีย์

พิจรณากากชาผูเอ่อร์ดิบ
จากกากาชาเราสามารถเห็นถึงเกรดใบชาที่นำมาทำชาผูเอ่อร์  การผลิตได้มาตรฐานไหม สะท้อนถึงคุณภาพที่แท้จริงของใบชา การดูใบชาสามารถดูได้หลังจากเราดื่มชาเสร็จเรียบร้อยแล้ว นำใบมาคลี่ดู แล้วหัดสังเกตุ ;
1.รูปพรรณ  สังเกตุว่ากากชาเต็มใบ เรียบร้อย สม่ำเสมอ แตกหักไหม ใบชาเต็มใบสมบรูณ์บ่งบอกถึงวัสดุใบชาคัดมาอย่างดี เกรดสูง ใบที่ถูกหั่นก็ย่อมรองลงมา ส่วนมากเห็นได้จากชาสูตร
2.ความวาวมัน ความสมบรูณ์ ความหนาของกากชา บ่งบอกถึงสสารในใบชาสมบรูณ์
3.สีสัน ใบชาที่เก็บนานสีจะเข้มขึ้น ชาที่คุณภาพดีสีของกากชาจะสม่ำเสมอ
4.ความอ่อนนุ่ม ชาที่คุณภาพดีกากชาจะอ่อนนุ่ม กากชาที่แห้งผอมแข็งคุณภาพจะเป็นรอง
5.ความยืดหยุ่นของกากชา ให้ลองใช้นิ้วมือกดกากชาดู ชาดีกากชาจะมีความยืดหยุ่นพอดี ชาที่คุณภาพรองๆกากชาจะแข็งกระด้างหรือเละ
สุดท้าย ดูความสะอาดของกากชา มีสิ่งแปลกปลอมอื่นหรือไม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น