Translate

14 ธันวาคม 2555

จิบชาญี่ปุ่น มัทฉะ กันครับ

วันนี้โชคดีมีคนมาชงชาญี่ปุ่นให้ชิมถึงร้านครับ เค้าเตรียมมาทุกอย่างเลยครับ ตั้งแต่อุปกรณ์ยันชา ถ้ามี กิโมโน คงใส่มาแล้วครับ ฮ่าๆๆ ลูกค้าร้านนี้ใจดีมากเลยครับ ในโลกของชาเราเคารพทุกวัฒนธรรม ชาทุกตัวในโลกล้วนมีดีในตัวมันเองครับ ด้วยข้อจำกัดที่เรามีอยู่ เราขออนุญาติตัดวิธีการชงที่ศักสิทธิ์ ห้องชาที่ปราณีต ๆลๆ ให้อยู่ในจิตนาการดีใหมครับ ส่วนชานั้นขออนุญาติชิมของจริงเลยนะครับ ส่วนรายละเอียดของชาและวิธิการต่างขอไม่กล่าวถึงนะครับ ท่านใดสนใจก็สามารถมาดูในเน็ตที่มีแพร่หลายในยุคปัจจุบันได้เลยครับ อาริกะโต๊ะ อีกทีครับท่านเจ้าของชา และขอ ซาโยนาระ เลยนะครับ ได้แค่สองคำนี้แหละครับ ที่เหลือก็คงเป็น ฮอนด้า ซุๆกิ เซมากู...หละครับ ฮ่าๆๆ มาชมภาพกันครับ  
ทุกอย่างสั่งตรงจากญี่ปุ่นหมด ยกเว้นคนชงครับ ฮ่าๆๆ
ชาสดจำนวนต่อหนึ่งถ้วยครับ แค่นี้ก็ได้อารมณ์แล้วครับ
 ผงชาเขียวสดละเอียดครับ สวยมากครับ 
 เติมน้ำร้อนหนึ่งกระบวยครับ ประมาณแปดสิบองศาน่าจะพอดีครับ
 ต้องรีบคนๆๆๆๆ คนรออยากดื่มแล้วครับ 
 น้ำชาเขียวสดรสชาติดีครับ ต้องรีบดื่มสดๆเลยครับ อืม...หวานชุ่มคอ อร่อยครับ

25 ความคิดเห็น:

  1. น่านับถือสุดยอดมาก..มีอุปกรณ์มาเอง ^_^ นับถือๆ

    รสชาติน่าจะอภิรมณ์น่าดูเลยน่ะครับคุณจาง

    ขอบคุณครับ
    แว

    ตอบลบ
  2. น้ำชาสีสวยมากครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ครับสีเขียวสดมากครับ ขอบคุณครับ

      ลบ
  3. ถ้ามีตะแกรงร่อนผงชาจะสวยกว่านี้อีกครับ ผิวด้านบนจะเป็นฟองนุ่มๆเหมือนครีม จะไม่มีฟองอากาศใหญ่ๆเลยครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ครับ ขอบคุณที่ชี้แนะครับ ยังไม่เคยเห็นตะแกรงแบบนี้เลยครับ ถ้ามีโอกาสจะลองไปสอบถามดูครับ

      ลบ
    2. ไม่ระบุชื่อ18 ธันวาคม 2555 เวลา 16:13

      ถ้ามีตัวอย่างตะแกรงร่อนผงชาก็จะดีไม่น้อยครับ
      แต่เท่าที่ถามเพื่อนชาวญี่ปุ่น เขาได้แต่หัวเราะและตอบว่าไม่มีครับ
      แล้วก็มีคำถามตามมาว่า "เมื่อคุณเรื่มต้นชงชา แล้วคุณยังไม่เข้าใจวิถีแห่งเซนอีกหรือ ?"

      ลบ
    3. ครับ ผมก็ยังงงๆอยู่ครับ555

      ลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ18 ธันวาคม 2555 เวลา 15:14

    คุณจางครับ เราจะใช้ตะแกรงเบอร์ 40 หรือ 60 เบอร์ไหนจะดีกว่ากันครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ที่ถามนี่มันตะแกรงอะไรเหรอครับ ถ้าปั้นชามันก็น่าจะถามในบทความที่เกี่ยวข้อง ถ้าตะแกรงที่มีคนกล่าวถึงที่ข้อคิดเห็นข้างบน ผมก็ยังไม่เคยเห็นเลยยังงงๆอยู่ครับ ขอบคุณครับ

      ลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ18 ธันวาคม 2555 เวลา 18:45

    รายการนี้แซวครับ เกี่ยวกับความหยาบและความละเอียดเท่านั้นครับ
    อย่าเอาไปปนกับปั้นชา คนละเรื่องกันเลยครับ

    "อย่างงเลยครับ ตะแกรงร่อนชาที่บทความข้างบน ไม่มีครับ"

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ฮ่าๆๆ ไม่ซีเรียสครับ

      ลบ
    2. แน่ใจหรือครับ ผมคุยกับคนญี่ปุ่นหลายคน ทั้งคนดื่มและคนขาย มีทั้งแนะนำให้ใช้ตะแกรง ภาษาอังกฤษว่า sifter ญี่ปุ่นว่า furui หรือถ้าเอาง่่ายๆ ก็ใช้ที่ตักชากดเบาๆให้ไม่เป็นก้อนตะกอนครับ เวลาเริ่มชงใส่น้ำนิดหน่อยก่อน ละลายผง ทำคล้าย koicha จะช่วยได้มาก ยิ่งบ้านเราอากาศชื้น ผงชาจะจับเป็นก้อน ถ้าชงเลย ก็จะได้ชาแบบรูปด้านบน คือมีฟองอากาศขนาดใหญ่ ไม่ละเอียดเนียนนุ่ม รสชาติจะไปไม่สุดนะครับ และดูจากรูปแล้วคุณน่าจะใส่ผงชาน้อยไปสักนิดนะครับสำหรับการชงแบบญี่ปุ่นแท้ๆ ไม่ว่าจะ usucha หรือ koicha ทำให้ตีฟองได้บาง และฟองอากาศใหญ่เพราะไม่ได้ sift ก่อนนะครับ

      บางสำนักอาจจะชอบฟองหนาบางไม่เท่ากัน urasenke หรือ สำนึกอื่นก็มีมาตรฐานไม่เหมือนกัน แต่ที่แน่ๆฟองใหญ่ๆนี่ไม่มีใครชอบครับ

      ส่วนที่บอกว่าที่ sift ชานั้นไม่มี ผมคงต้องขอค้านจริงๆ เพราะแม้กระทั่งในพิธีชงชา ก่อนที่จะนำชามาใส่ขวดโหลสวยๆ ก็ต้อง sift ชาที่ออกมาจากกระป๋องก่อนทั้งนั้น ไม่ใส่สักแต่ตักใส่ขวดนะครับ

      ถ้าทำให้ไม่พอใจก็ขออภัยครับ ผมเป็นคนตรงๆ และชอบการเรียนรู้ครับ ถ้าท่านมีความเห็นต่างออกไป ก็กรุณาสอนสั่งด้วยละกันครับ

      ลบ
    3. ขอบคุณครับ ข้อมูลดีมากครับ ที่จริงผมไม่เชี่ยวชาญชาญี่ปุ่นเลยครับ ก็ขอขอบคุณที่ให้ข้อมูลและชี้แนะมากๆครับ และยินดีมากที่มีคนมาให้และแลกเปลี่ยนข้อมูลครับ ผมว่าดีออกครับเอาข้อมูลมาว่ากันในพื้นฐานที่เคารพซึ่งกันและกันครับ และผมก็เพิ่งรู้ว่าต้องใช้ตะแกรงตอนชงเป็นครั้งแรกเหมือนกันครับ ถ้ามีรูปมาให้ดีก็คงดีมากไม่น้อยเลยครับ ขอบคุณอีกทีครับ เห็นได้ว่าคุณก็เป็นอีกคนที่รักชาครับ

      ลบ
    4. ยินดีครับ นี่ครับตัวอย่างรูป http://www.o-cha.com/images/P/16206t.jpg

      ลบ
  6. http://whatisanime.files.wordpress.com/2011/12/matcha-green-tea-set.jpg

    ตัวอย่างรูปที่ควรจะเป็นครับ สำหรับ usucha ฟองบาง

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่ระบุชื่อ21 ธันวาคม 2555 เวลา 09:51

      ขอขอบคุณ คุณBankungครับ ที่ให้ความรู้ใหม่ครับ
      เพราะส่วนใหญ่คนเรามักที่จะอมภูมิไว้หนึ่งชิ้นเพื่อที่จะแสดงความรู้และบอกไว้ไม่ครบถ้วน เนื่องจากกลัวว่ามีคนอื่นรู้มากกว่าตนเองหรือก็กลัวว่าคนอื่นจะทำได้มากกว่าตนเองหรือก็เพื่อพูดให้คนอื่นงงและผมเจอคนประเภทนี้มากเอาเสียด้วย

      ความจริงผมชอบคนลักษณะพูดตรงแบบขวานผ่าซากแบบคุณจะดีกว่าคนที่พูดจาอ้อมค้อมแต่เอามีดซ่อนไว้ข้างหลังครับ
      และไม่จำเป็นต้องไปพูดลับหลังคนอื่น ถ้าจะจบก็จบตรงห้องประชุม อย่าจบที่อื่นครับ

      ผมก็ต้องขอโทษคุณ Bankungนะครับ เพียงแต่ถ้าผมไม่ทำเช่นนี้ก็จะไม่มีรูปให้ดูครับ เพราะค้นในเวปแต่ละที่ไม่เห็นเครื่องมือตัวนี้ครับ

      ปกติผมดื่มชาจีนครับ เพียงแต่ผมอยากดื่มชาญี่ปุ่นดูว่าเป็นอย่างไรเท่านั้น จึงจำเป็นหรือไม่ครับว่าที่จะต้องใช้ furui
      และอีกอย่างหนึ่งครับ ชาผงของญี่ปุ่นมีกรรมวิธีการผลิตอย่างไรถึงตีแล้วขึ้นฟองครับ (เพราะผมไปเจอมี 2 ชนิดครับ) คือ
      1. มัทฉะที่ตีแล้วไม่ขึ้นฟอง
      2. มัทฉะที่ดีแล้วขึ้นฟอง

      ลบ
  7. มัทฉะ แบ่งวิธีชงได้เป็นสองแบบคือ แบบหนา koicha และแบบบาง usucha ครับ แบบหนาคือแบบที่เราๆเอาจเคยเห็นกันในรูปเก่าๆ คือชาสีเขียวเข้มข้น เหนียวหนืด จะใช้ชาในปริมาณที่มากต่อน้ำปริมาณน้อย ผมชงประมาณ 7-8 กรัมต่อน้ำ 50 ml ใช้ที่ตีคนให้เข้ากัน ครับ ส่วนแบบบางคือใช้ชาประมาณ 2 กรัม ต่อน้ำ 70-80 ml. แล้วใช้ที่ตีตีฟองขึ้นมาให้ปกคลุมผิวด้านบน ทั้งนี้ฟองอากาศเล็กใหญ่ มากน้อยนั้น อยู่ที่ฝีมือการตีฟองส่วนนึง และ ปริมาณชาและอุณหภูมิน้ำส่วนนึง และการเตรียมผงชาอีกส่วนนึงนะครับ ไม่ขึ้นกับคุณภาพชาเท่าไหร่ ส่วนน้ำอุณหภูมิ 80 องศาใช้ได้ดีแล้ว

    แต่ถ้าจะดื่ม koicha ต้องเลือกชาคุณภาพสูงๆครับ ไม่งั้นจะขมมากๆ ดื่มไม่ได้ แต่ผมบอกได้ว่าถ้าทำดีๆรสชาติมันเข้มข้นสุดยอดเลยหละ ดื่มแล้วตื่นตัวดีครับ

    ถ้าอยากดื่มมัทฉะผม แนะนำของ ippodo, horaido ครับ ทั้งสองร้านเปิดมาเกินร้อยปี อยู่กลางเมืองเก่าเกียวโต และมีหน้าเว็ปขายต่างประเทศ อย่าไปซื้อผงตามซุปเปอร์หรือแม้แต่ร้านมัทฉะแบบ chaho เพราะจะได้ของแพงคุณภาพห่วยครับ ดื่มมัทฉะก็มีของเล่นนะ ชามดื่มนี่แหละ อารมณ์ป้านชาอี้ซิง มีหลากหลายงานเคลือบ ความงาม และราคา

    ความจริง furui ก็ไม่ได้หาในเน็ตยากนะ ผม search matcha accessory ก็เจอละ เว็ปแรกใน google เลยครับ ขอให้สนุกกับการดื่มชาครับ

    ตอบลบ
  8. เป็นสิ่งดีครับที่คนรักชามาถกและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันครับ และคนอื่นๆที่รักหรือเพิ่งเรียนรู้ก็จะได้ประโยชน์ด้วย เพราะบ้านเราไม่ค่อยมีตรงนี้กันครับ ขอบคุณทั้งสองท่านอีกทีครับ โลกของชากว้างใหญ่และลุ่มลึกจริงๆครับ555

    ตอบลบ
  9. ไม่ระบุชื่อ21 ธันวาคม 2555 เวลา 14:31

    ขอขอบคุณ Bangkung ครับ ที่ช่วยแนะนำร้านขายชาและข้อสงสัยเกี่ยวกับชามัทฉะครับ

    สำหรับ Furui ก็ขอบคุณครับที่แนะนำเวบไซต์ครับ เพราะผมหาไม่เจอครับ เดี๋ยวผมหาตามที่คุณBangkung แนะนำครับ
    สำหรับร้าน Chaho แนะนำช้าไปแล้วครับ ผมไปลองมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่ผมไม่อยากเขียนเข้ามาครับ เดี๋ยวจะกลายเป็นการโจมตีระหว่างร้านค้าซึ่งผมไม่ค่อยชอบครับ (นึกถึงพวกเซลล์ขายของแล้วปวดหัวครับ)

    สำหรับ ชาชุดนี้บังเอิญได้มา ผมก็เพียงแต่นำมาแบ่งปันให้คุณจางและคนที่ผมรู้จักมาทดลองชิมกันเท่านั้นครับ

    ขอบคุณครับ สำหรับความรู้ที่ได้รับเพิ่มเติม
    ขอให้สนุกกับการดื่มชาเช่นกันครับ







    ตอบลบ
  10. ไม่ระบุชื่อ21 ธันวาคม 2555 เวลา 21:36

    สวัสดีครับ คุณจาง
    บังเอิญไปเจอชาผงของเกาหลีครับ เขาใช้ชื่อ Jaksul Powdered Green Tea
    ของ เวปไซต์ hankooktea.com (ลักษณะอุปกรณ์เหมือนของญี่ปุ่นครับ)ว่างๆลองดูในเวปไซต์นะครับ
    ถ้ามีโอกาสก็จะหามาให้ชิมกันดูครับ (รายการนี้ไม่รู้ว่าจะหาโอกาสซื้อได้หรือเปล่า)

    ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  11. โอ้ว....เข้ามาอ่านอีกที ได้ความรู้เต็มเลย

    ขอบคุณทั้งสองท่านน่ะครับ

    แว

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่ระบุชื่อ22 ธันวาคม 2555 เวลา 10:21

      ความรู้นี้ต้องยกให้คุณ Bangkungก่อนนะครับ เพราะเขาให้ความรู้และความกระจ่างกับพวกเราครับ
      สำหรับของผมเป็นเพียงการนำอุปกรณ์หลักๆมาดื่มดูเท่านั้นครับว่าเป็นอย่างไร
      "ความจริงผมชอบดื่มชาจีนครับ แต่สำหรับชาที่อื่นทั่วโลกก็ดื่มดูครับว่าเป็นอย่างไร"

      ขอบคุณครับ

      ลบ