Translate

15 พฤศจิกายน 2555

บทความเปรียบเทียบชายี่หวู่จากลูกค้าครับ

เปรียบเทียบชาผูเอ่อร์ดิบเขายี่หวู่ (ชาปลูก) ระหว่างของจริงกับของปลอม​
ผมนำภาพชาผูเอ่อร์ดิบเขายี่หวู่ (ชาปลูก) มาเปรียบเทียบกันระหว่างของจริงกับของปลอมครับ
​หมายเหตุ
1. ชาที่นำมาเปรียบเทียบเป็นชาปลูกเหมือนกัน
2. กำหนดเวลาแช่ชา 15 วินาทีเท่ากันทุกน้ำ
3. ปริมาณชาที่ใช้เท่ากัน
 
          มาชมภาพกันครับ ซ้ายไม่ใช่ขวาใช่ครับ
 กลับด้านนะครับ ซ้ายใช่ขวาไม่ใช่
 ซ้ายใช่ขวาไม่ใช่ครับ

  ซ้ายใช่ขวาไม่ใช่ครับ


จุดสังเกตน้ำชานะครับ
1. ความสวยงามของการจัดเรียงตัวของชาในแผ่นจะมีความแตกต่างกันครับ
2. สีของน้ำชาปลอมค่อนข้างจะเข้มกว่าสีน้ำชาแท้ครับ แต่ข้อนี้ยังตัดสินแบบฟันธงไม่ได้ครับ
เนื่องจากปีต่างกันย่อมมีผลต่อสีของน้ำชาด้วยครับ มาดูเพิ่มเติมในข้อต่อไปครับ
3. เมื่อคลี่ใบชาหลังชงชาแล้ว จะเห็นว่า ชาแท้จะเป็นชาใบใหญ่จากยูนาน แต่ชาปลอมใช้ชาใบเล็ก จากเขาไหนก็ไม่รู้ครับ
4. เมื่อชิมน้ำชาแท้จะมีรสชาติคงทนประมาณ 7-8 น้ำเป็นอย่างน้อย แต่น้ำชาปลอมจะมีรสชาติ ประมาณ 4-5 น้ำเท่านั้น เกินกว่านี้จะมีเพียงสีอย่างเดียวครับ
สำหรับชาของผมที่นำมาเปรียบเทียบเป็นเพียงแผ่นเดียวที่ปลอมในหลายๆแผ่นนะครับ​
ข้อคิด คือ อย่าเห็นแก่ของถูกกว่าปกติในท้องตลาด เพราะจะทำให้เราเสียทั้งเงินและชาปลอมอาจทำลายสุขภาพแบบผ่อนส่งรวมทั้งตับ ไตและอื่นๆ ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดโรคเรื้อรังที่รักษายากครับ แต่บางครั้งผู้ขายเองก็ไม่รู้ว่าชาที่ขายอยู่เป็นชาปลอมก็อาจจะได้ของแพงกว่าปกติครับ เอาเป็นว่าได้ชาแท้ (ชาใหม่หรือชาเก่าก็ได้ครับ) ราคาเหมาะสมก็จะดีที่สุด และชาผูเอ่อร์ก็จะมีประโยชน์ต่อสุขภาพครับ
​ปล. ขอขอบคุณ คุณจางครับ ที่ได้สละเนื้อที่ใน Blog ครับ ถ้ามีโอกาสผมก็จะนำเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวกับชามาพูดคุยกันอีกครับ...เลิกกันครับ
บทความโดย zĭshāhú


คุณจางขออนุญาติเพิ่มเติมนิดเดียวนะครับ
ขอบคุณจื่อซาหูที่เอื้อเฟื้อบทความมานะครับ ผมดีใจที่ได้มีส่วนร่วมในการถ่ายภาพด้วยครับ นี่เป็นอีกปรากฎการใหม่ด้านบวกของบล็อกของผมครับ ท่านผู้อ่านท่านใดสนใจอยากแสดงความคิดเห็น ผมยินดีและเปิดโอกาสให้ทุกๆท่านเอื้อเฟื้อบทความให้นะครับ เผื่อท่านใดมีความรู้และมุมมองใหม่ที่จะมาช่วยส่งเสริมพัฒนาในวงการชาบ้านเราครับ ขอบคุณล่วงหน้านะครับ
ที่โพสมาเป็นแค่หนึ่งในกรณีชาปลอมแค่นั้นครับ การปลอมนั้นมีอีกมากมายหลายกรณีนะครับ
กรณีนี้ถ้าผู้ดื่มไม่เคยดื่มของแท้ก็จะแยกแยะรสชาติไม่ออกเลยครับ ถ้าไม่นำมาเปรียบเทียบก็จะแยกแยะสีนำ็ชาไม่ออกเหมือนกัน ด้านใบชาแห้งและกากชาหลังชง ถ้าไม่ใช่ผู้มีประสบการณ์ก็แยกลำบากครับ ที่แยกแยะได้อย่างชัดเจนในกรณีนี้ก็คงจะเป็นด้านรสชาติเท่านั้นครับ
เสียดายชาที่นำมาเปรียบเทียบต่างกันหลายปีครับ ของปลอมนานกว่า ถ้านำชาปีเดียวกันมาเปรียบเทียนน่าจะเด่นชัดกว่านี้ครับ
คำว่าชาปลอมในกรณีนี้คือนำใบชาที่ไม่ใช่เขา่หวู่แท้มาอ้างเป็นชาเขายี่หวู่ครับ
ขอไม่เปิดเผยชื่อบริษัทใบชาเพื่อความเป็นกลางนะครับ ขอบพระคุณครับ

19 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณคุณจางและคุณจื่อซาหู น่ะครับที่ทำการเปรียบเทียบชายี่หวูทำให้เห็นข้อแตกต่างครับผม....ป.ล ถ้าสังเกตใจใบชารูปแลกก็น่าจะช่วยได้ในระดับหนึ่งน่ะครับ ในกรณีที่ใครมีชาจริงอยู่ในมือ

    ขอบคุณมากครั
    แว

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ใช่ครับ ถ้าใครมีชาแท้อยู่ในมือก็จะมีตัวเปรียบเทียบครับ (จะเป็นชาใหม่หรือชาเก่าก็ได้นะครับ "เหมือนกับการดูพระเครื่อง ธนบัตรและอื่นๆครับ") แต่ควรเป็นชนิดเดียวกันครับ เช่น
      1. ถ้าเป็นชาปลูกก็ควรเปรียบเทียบกับชาปลูกเหมือนกันครับ
      2. ถ้าเป็นชาป่าก็ควรเปรียบเทียบกับชาป่าเหมือนกันครับ
      3. ถ้าเป็นชาสุกก็ควรเป็นชาสุกเหมือนกันครับ
      ยิ่งถ้าได้ปีที่ผลิตเหมือนกันก็จะยิ่งดีครับ จะได้ไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบกัน
      เงือนไขก็คือ ต้องมั่นใจนะครับว่าที่เรามีชาอยู่ในมือคือชาแท้
      (สิ่งสำคัญอีกอย่างคือ มือเก่าๆที่ชำนาญแล้วไม่น่าจะมีปัญหาเพราะมีประสบการณ์มาบ้างแล้ว แต่สำหรับมือใหม่อาจจะได้ยินเรื่องราวที่ผิดๆ หรือข้อมูลที่เขาโกหกเพื่อขายสินค้าของเขา และก็เลยเข้าใจผิดคิดว่าชาปลอมคือชาแท้)

      ขอบคุณครับ...เลิกกัน
      จื่อซาหู

      ลบ
    2. กระจ่างมากครับ ... ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ

      แว

      ลบ
  2. ขอถามคุณจางหน่อยว่า ขึ้นชื่อ ผูเอ่อร์ แล้วเนี๊ยะ
    ใบชาจะต้องใหญ่สไตล์ ยูนาน เท่านั้น ใช่ป่าวเอ๋ย

    เพราะเคยได้ ผูเอ่อร์ แต่ใบมันเล็ก แถมกลิ่นแปลก ๆ กว่า ผูเอ่อร์ ที่เคยลิ้มรสหน่ะ
    แต่ก็ยังเผื่อใจไว้ เพราะว่าในโลกใบนี้ ยังมีอะไรที่ไม่ได้รู้ อีกเยอะ เหอะ เหอะ เหอะ

    ขอบคุณล่วงหน้า นะคะ...รับ....ครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ครับ ควรเป็นชาใบใหญ่ยูนานครับ

      ลบ

    2. งั้นก็แปลว่า สมควรจะโล๊ะทิ้งได้แล้วนะซิ
      ใบยังไง๊ ยังไง ชงกี่ที ก็ใบยังเล็กอยู่เลย เหอะ เหอะ เหอะ (ไม่ยอมขยายให้ใหญ่เท่า)
      แถมรสชาติ แปลก ๆ กระดาษห่อ ก็มีอักษรภาษาพม่าผสมด้วยนะเออ.........

      เขาให้มา ก็รับเอาไว้ อุตส่าห์แกะใส่ที่เก็บ แต่พอชิมแล้ว.......

      สงสัย ต้องส่งคืน ฮ่า ฮ่า ฮ่า

      ลบ
    3. มันเป็นภาษาไทยใหญ่ครับ ที่จริงรสชาติมันฟ้องตัวมันเองนะครับ แต่หลายฯคนก็ไม่รู้ครับ

      ลบ
    4. น่าน............หน่ะซินะ
      ชิม สองหน ก็รู้สึกว่า ต้องทนดื่ม ยังไงก็ม่ายรุ้
      แต่ก็ยังทู่ซี้ เก็บเอาไว้ ฮ่า ฮ่า ฮ่า

      สงสัย ต้องเอาไปทำอะไรดีน๊า..............ไว้นึกก่อนแล้วกัน

      ขอบคุณมาก ๆ เลย สำหรับความรู้อันหลากหลาย จากคุณจาง...... O:-)

      ลบ
  3. ขอบคุณมากครับ
    ขนาดเคยชิมของแท้มาบ้างแล้วก็ยังแยกลำบาก
    รู้แต่ว่ารสชาติดี ไหลลื่นดี ไม่ระคายคอถือว่าโอเค

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ยินดีและขอบคุณครับ ถ้าื่ดึ่มบ่อยๆก็จะแยกแยะออกเองครับ เพราะชาของแต่ละเขาจะมีเอกลักษณ์เป็นของตนเองครับ ถ้าจะให้ดีก็ต้องให้ความสำคัญเกรดและชนิดของใบชาด้วยครับ

      ลบ
  4. กรณีชากงถิง ใบมันเล็กๆถือเป็นชาผู่เอ๋อจากยูนนาน
    ด้วยใหมครับ ขอบคุณคุณจางและเพื่อนที่ได้เผยแพร่
    ความรู้จากบทความนี้มาให้ทราบครับ
    มน ปทุมธานี

    ตอบลบ
  5. สวัสดีครับคุณมน กงถิงก็เป็นชาใบใหญ่ยูนานครับ เพียงแต่มันเป็นยอดชาก็จะเล็กกว่าปกติครับ

    ตอบลบ
  6. อ๋อ เข้าใจแล้วครับ ขอบคุณคุณจางที่อธิบาย
    ให้ความกระจ่างครับ
    มน ปทุมธานี

    ตอบลบ
  7. สำหรับผู้ที่ดื่มชาผูเอ่อร์ใหม่ๆ มักจะเจอชาปลอมเป็นส่วนมาก และเมื่อดื่มระยะหนึ่งจึงรู้ว่าเป็นชาปลอม เนื่องจากว่าได้เจอชาผูเอ่อร์แท้มาเปรียบเทียบกัน (หรือภาษาพูด คือ "มาชนกัน") หรือใครที่โชคดีก็เจอกับชาผูเอ่อร์แท้เลยในครั้งแรกก็ถือว่าโชคดีไปครับ
    ส่วนใครทีมีชาผูเอ่อร์ปลอมมาเก็บไว้ คงต้องทำใจยอมรับความจริงข้อนี้ว่าคือชาปลอมครับ (ไหนๆก็เสียเงินซื้อมาแล้ว อย่ากลัวเสียหน้าครับ ถือว่าเราเสียเงินซื้อความรู้ก็แล้วกันครับและชาปลอมบางตัวอาจทำลายสุขภาพด้วยครับ เช่น ชาที่ดื่มแล้วแสบคอหรือระคายคอ)
    ส่วนชาปลอมที่เก็บไว้ ถ้าส่งคืนจากร้านที่ซื้อมา (คือ มีการรับประกัน) ก็ส่งคืนครับ หรือ ถ้าส่งคืนไม่ได้ (คือ ไม่มีการรับประกัน) ก็น่าจะเก็บไว้แล้วนำมาเปรียบเทียบกับของแท้ครับ ส่วนนี้ก็จะเป็นประสบการณ์ของท่านเองเลยครับ

    ขอบคุณครับ...เลิกกัน
    zĭshāhú

    ตอบลบ
  8. กรณีชาจริงชาปลอมเนี้ย น่าปวดหัวนะคับ ทำให้ผมไม่คิดอยากจะลองดืมชาผูเอ่อร์เลย จะซื้อก้อกลัวโดนหลอกครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ครับก็ควรเลือกที่ซื้อหน่อยครับ สุดท้ายคือต้องลองหัดดื่มให้เป็นครับ พึ่งคอตัวเองดีที่สุดครับ ขอบคุณครับ

      ลบ
  9. ขออภัยครับ..พิมพ์ชื่อผิดไปหน่อย
    จื่อซาหู

    ตอบลบ
  10. ชอบบทความแนวนี้ครับ น่าสนใจดี
    ได้ความรู้มากๆ เพราะถ้าเป็นผมเองดื่มอยู่คนเดียวคงแยกไม่ได้แน่นอน

    ขอบคุณคุณจื่อซาหูและคุณจางที่เผยแพร่ความรู้ดีๆครับ
    คาราวะหนึ่งจอกทั้งสองท่าน
    เป็นกำลังใจให้นะครับ

    ตอบลบ