Translate

08 มิถุนายน 2555

๑๒แนวทางการเล่นปั้นชา

อีกสิบสองแนวทางของการเล่นปั้นชาครับ แต่จะค่อยๆทะยอยแปลมาให้อ่านกันครับ ขอบคุณ อัพเดทถึงข้อ ๑๒
๑. เล่นปั้นไม่ควรใจร้อน ปั้นชาเล่นได้ชั่วชีวิต ไม่มีทางเรียนรู้ทางลัดหรือด่วนได้ มีแต่สั่งสมประสบการณ์และศึกษาทีละเล็กละน้อยเท่านั้น ถ้าคุณใจร้อน คาดว่าต้องเสียค่าเล่าเรียนไม่น้อยทีเดียว เส้นทางเล่นปั้นของมือใหม่ยังอีกยาวใกล คนเล่นปั้นยุคนี้ไร้ทิศทาง และไม่เข้าใจเลยว่าอะไรคือปั้นชา ( จื่อซา ) ได้แต่เอาความคิดจินตนาการของตนเองใส่ลงไปในปั้นชา เริ่มแรกก็ชอบที่มีสีสันสดใส ผิวเกลี้ยงๆเนียนๆ ที่จริงปั้นชาที่ดินละเอียดเกินไปมันก็จะเหมือนเซรามิกไม่เหลือรูพรุนได้หายใจ เม็ดดินจื่อซาควรเห็นได้ด้วยตาปล่าวดีทึ่สุด ขนาดดินจื่อซาที่ดีที่สุดน่าจะมีความละเอียดที่ขนาดตะแกรงประมาณ ๓๐-๖๐ 

๒.ถ้าคุณไม่มีประสบการณ์ดื่มชามาก่อน และมาเริ่มมาเล่นปั้นชา ขอแสดงความยินดีด้วย คุณต้องมีทางให้หลงอีกเยอะ ต้องลองผิดลองถูกอีกไม่น้อย จะตัดไม้ต้องลับมีดให้คม ควรต้องศึกษาการดื่มชา ให้ใช้ก้ายหว่านแยกแยะจุดเด่นด้อยของใบชา จะมีประโยชน์มากในเส้นทางการเล่นปั้นชาแน่นอน ส่วนนี้ตอนนี้คุณอาจยังไม่เข้าใจ หวังว่าคุณจะกระจ่างในวันข้างหน้า ปั้นชาและชาเป็นของคู่กัน



๓.อย่าไปเสาะหาดินอะไรเลิศที่สุดในปัฐพี เช่น ดินจวูหนี ดินต้าหงผาว ดินชิงฮุย และดินที่ไม่เคยได้ยินชื่อมาก่อน เล่นพวกนี้ต้องสูญเสียมากเกินไป ดินที่มีมาแต่โบราณ จื่อหนี ต้วนหนี หงหนี สวยที่สุดแล้ว ดินจื่อซามีแค่สามชนิด คือ จื่อหนี หงหนี เปิ่นซันลวี่หนี ดินอย่างอื่นก็คือดินย่อยของดินสามชนิดนี้ เล่นดินที่แปลกๆผมไม่ชำนาญ สำหรับดินชิงสุ่ยหนีหลายๆคนถามว่ามันคือดินอะไร ตามความคิดผมคือเช่นนี้ ชิงสุ่ยหนีมาจากศิลปะการผสมดินของโรงงานอิฉ่าง สมัยก่อนโรงงานอิฉ่างทำปั้นชอบใช้ดินหลายๆตัวมาผสมกัน เพื่อให้ดูดี แต่ดินที่นำมาทำกระถางดอกไม้ ไม่คุ้มที่จะไปผสมดินแบบนี้ จึงใช้ดินชนิดเดียวมาทำจึงเรียกดินชนิดนี้ว่าดินชิงสุ่ยหนี ตอนนี้ความหมายของดินชิงสุ่ยได้กลายเป็นประเภทหนึ่งของดินจื่อหนี ดินทุกชนิดที่เพียวๆก็จะเรียกว่าดินชิงสุ่ย หรือจะเรียกว่าจื่อหนีก็ได้ เหมือนกับชาเขียวกับชาหวงซันเหมาฟง ชาหวงซันเหมาฟงทั้งหมดจะเรียกชาเขียวก็ได้ แต่ใช่ว่าชาเขียวทั้งหมดจะเรียกว่าหวงซันเหมาฟง


๔.อย่าคิดว่าปั้นชาที่เลี้ยงขึ้นก็จะดินดีเลย ดินต่างถิ่นและดินที่มีความบริสุทธิ์น้อยก็เลี้ยงขึ้นเช่นกัน แต่เมื่อนำมาเทียบกันแล้วย่อมมีความห่าง อย่าคิดว่าปั้นที่ดูดีแล้วดินจะดีเสมอไป และดินที่ดูสากๆแห้งๆจะไม่ดีเลย ปัจุบันดินที่ไม่ดีสามารถทำให้ดูดีได้ด้วยฝีมือการแต่งผิวของช่างที่ชำนาญ หรือนำไปขัดแห้ง และการที่เผาด้วยเตาอะไรก็มีผลกระทบต่อต่อปั้นชา ส่วนประกอบเหล่านี้มีผลกระทบต่อปั้นชามากกว่าเนื้อดินโดยตรง ตอนนี้ดินต่างถิ่นบางส่วนหรือดินที่ความบริสุทธิ์ของจื่อซาต่ำ (ไม่รวมดินเคมี ) สามารถทำให้ดินดูดีขึ้นมากด้วยวิธีที่กล่าวมาเบื้องต้นเหล่านี้ ปั้นชาที่เพิ่งคลอดออกจากเตา ย่อมดูสากแห้ง การที่จะดูวาวสวยเหมือนหยกนั้นต้องผ่านการเลี้ยงมาอย่างถูกวิธี ดังนั้น เราจะบอกว่าปั้นชาที่เพิ่งออกจากเตานั้นไม่ดีเหรอ ดังนั้นเราจะดูว่าปั้นดินดีหรือไม่อย่างไร สำหรับนักเล่นมือใหม่ที่ดูแต่ผิวเผินย่อมต้องเสียค่าเล่าเรียนไม่น้อย ปั้นชาเนื่องจากดินที่ต่างกัน แหล่งกำเนิดของดินจื่อซาต่างที่ วิธีการปรุงดินที่ต่างกัน การแต่งผิวที่ต่างกัน อุณภูมิการเผาที่ต่างกัน เวลาที่ใช้ในการเลี้ยงปั้นย่อมต่างกัน บางชงชาไปไม่กี่ครั้งก็ขึ้นวาวแล้ว บางต้องช้าหน่อย ดังนั้นไม่ควรนำการวาวเร็วหรือช้าไปตัดสินปั้นชาใบหนึ่ง แต่มีสิ่งหนึ่งที่รับรองได้ คือปั้นชาที่ใช้ดินดีกว่าย่อมชงชาได้รสชาติมากกว่าปั้นชาที่ใช้ดินเกรดรองลงมาครับ


๕.สำหรับวิธีการแยกแยะดินหวงหลงซันกับดินต่างถิ่นนั้น ถ้าเป็นดินหวงหลงเทน้ำร้องลงไปแช่ครึ่งนาทีแล้วรินออก จะมีกลิ่มหอมของดินอ่อนๆ ดินของหวงหลงซันใช้มือลูบแล้วจะนุ่มเนียน เนื้อดินดูแล้วจะมีเม็ดทาย อันนี้สำคัญและเป็นวิธีที่แยกแยะดินหวงหลงและดินต่างถิ่น ดินหวงหลงจะบริสุทธิ์ลุ่มลึก และวาวแบบลึกๆ เลี้ยงแล้วเปรียบดั่งแววตาทารกใสบริสุทธิ์ ปั้นใหม่จะมีแร่ mica ปะปนอยู่บ้าง หลังจากเลี้ยงแล้วจะหายไปเอง ถ้าผิวปั้นวาวแบบไม่เป็นธรรมชาติส่องดูใต้แสงไฟไม่ลุ่มลึกออกขุ่นหมองแต่สะท้อนแสง และให้สังเกตภายในใต้ฝาให้ดี โดยทั่วไปจะไม่ขัดที่ภายในใต้ฝา ถ้ามันวาวแบบผิวกระจกและไม่เรียบ ( ดินต่างถิ่นส่วนมากจะเป็นแบบนี้ ) ดินเกรดแย่จะมีเม็ดทรายน้อยแต่ตกผลึกสูง และทนต่ออุณหภูมิได้น้อยกว่า


๖.อย่าเชื่อผู้อื่นสอนวิธีการดูเนื้อดินจื่อซาอย่างงมงาย เช่นดินจื่อซาจะต้องมีแร่เหล็ก ความเป็นจริงแล้วดินที่มีแร่เหล็กปะปนมีอยู่ทั่วไปในเมืองจีน ถึงแม้ว่าในดินจื่อซาจะมีแร่ mica และมันจะตกค้างหลังจากเผาแล้ว ดูใต้แสงไฟจะเป็นจุดสะท้อนแสงสีเงิน แต่ถ้าใช้วิธีนี้แยกแยะก็จะไม่ได้ผลกับดินของฉางซิง ไม่ควรไปฟังว่าปั้นชาทรงไหมเหมาะกับการชงชาอะไร ตามหลักการแล้ว ส่วนนี้ไม่น่ามีปัญหาอะไร แต่ที่เป็นปัญหาคือ หลักการเหล่านี้ส่วนมากจะฟังมาจากผู้อื่น คุณเชื่อโดยที่ไม่ได้ผ่านการพิสูจน์ คุณน่าจะทดลองด้วยตัวคุณเอง สิ่งที่ผู้อื่นพูดกันมา พอพูดกันมากขึ้นก็จะกลายเป็นสัจะธรรมไป หนึ่งในแรงจูงใจของการเล่นปั้นคือการพิสูจน์ค้นพบหลักความจริงไปทีละข้อ


๗.เกี่ยวกับการใช้งาน ผมจะขอพูดนิดเดียว ถ้าคุณดื่มชา ( เป็น ) คุณก็จะเป็นคนสอนคนขายปั้น แต่ไม่ใช้พ่อค้าปั้นชามาชี้แนะคุณ ถ้าเป็นทรงเหลี่ยม ฟัก ดอกเบญจมาศ ก็ไม่ควรจะซีเรียสเรื่องความสนิทของฝา เพราะว่าปั้นทรงพวกนี้มีข้อจำกัดทางด้านเทคนิค น้ำหยดเป็นเรื่องธรรมดา แน่นอน ถ้ามีคนจะเถียง ก็มีที่ไม่หยดบ้าง ถ้าเป็นปั้นยุคเก่า ทั่วไปจะเผาเพียงครั้งเดียว โดยไม่ขัดแต่งลิ้นแล้วไปเผาซ้ำ ส่วนฝาก็จะไม่ค่อยสนิท ขอแต่เวลาใช้งานน้ำไม่หยดมาก ผมก็จะไม่แนะนำให้ไปแต่งลิ้น ให้คงไว้เช่นเดิมเพื่อเป็นการให้เกรียติประวัติศาสตร์


๘. เกี่ยวกับรูปทรงของปั้นชา อันนี้คงต้องมองพื้นฐานโดยรวมของส่วนบุคคล ที่จริงยิ่งเรียบง่ายยิ่งต้องใช้ฝีมือ ปั้นที่ฉูดฉาดจะทำง่ายกว่า เพราะที่ฉูดฉาดก็แค่เติมองค์ประกอบลงไป แต่จะเรียบง่าย และสวยในความเรียบง่าย อันนี้เป็นเรื่องที่ยากกว่า ช่างที่ฝีมือไม่ถึงจะยิ่งยาก ปั้นที่เรียบง่ายส่วนมากจะเน้น รูปทรง อารมณ์ วิญญาณ ความสง่า เห็นได้โดยเพียงการมองแค่ครั้งเดียว ไม่มีสิ่งอื่นมาบทบัง ซ่อนโดยไร้ที่ซ่อน จะทดสอบฝีมือของช่างมากกว่า ปั้นที่เรียบง่ายจะเน้นความคลาสสิก ปั้นชาเป็นส่วนหนึ่งของศิลปะการชงชา ส่วนมากจะต้องการความสงบเรียบง่าย สง่าและสูงโส่ง ดังนั้นความคลาสสิคจะดีที่สุด ความตลกเป็นรอง ( ปั้นตลก ) จะยกระดับยังไงนั้นไม่ใช่เรื่องยาก หัดเล่นจากปั้นรูปทรงพื้นฐาน ใครชมว่าปั้นชารุ่นไหนดียังไง ให้หารูปที่สวยคลาสสิคที่สุด มาเปรียบเทียบวิเคราะห์ดู อย่างนี้ก็เป็นเร็วขึ้น จะยกระดับได้ขนาดไหน อันนี้ต้องดูความฉลาดของแต่ละคน ถ้าพื้นฐานความรู้ไม่ถึง อันนี้ก็ต้องค่อยๆเดินแล้วหละ เมื่ออายุมากขึ้น ทุกอย่างก็จะดีขึ้นเองครับ ฉะนั้นควรดูให้เยอะซื้อให้น้อย เลี้ยงสายตาให้เที่ยง ขอให้ถูกทิศถูกทาง อนาคตก็จะเล่นได้เก่งเอง


๙.เกี่ยวกับทัศนคติด้านปั้นเก่า ต้องแยกแยะให้ดี ความคิดเห็นของผมได้พูดมาหลายครั้งแล้ว คิดว่าทำให้หลายคนไม่เห็นด้วย ผมจะพูดกับมือใหม่ว่า คุณเล่นได้ ถ้าราคาไม่แพง ถ้าอยากรวยทางด้านนี้ ผมจะหัวเราะคุณช่างไร้เดียงสา ถ้าไม่มีทุนมาปั่นกระแส จอกชากังไสที่สมบรูณ์ของยุคซ้งก็ขายแค่สามพันห้าพันหยวน ปั้นเก่าอย่ามาพูดกับผมว่ามีน้อย พวกนี้เป็นสิ่งที่คนอื่นเค้าเล่นเหลือมาแล้ว ฟองสบู่ของปั้นเก่าได้กำเนิดขึ้นมาแล้ว นอกจากคุณจะเจอมือใหม่ที่ใจกล้ากว่าคุณ ผมเชื่อว่าฟองสบู่อยู่ได้ไม่นาน แต่ยังอยู่ได้หลายปี จะอยู่กี่ปีไม่แน่ แต่จะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ สุดท้ายก็ต้องแตก อย่าคิดว่าคุณเก็บปั้นเก่าไม่กี่ใบก็จะรอวันรวย คนเล่นที่ใหญ่กว่าเค้าจะหัวเราะเยาะ มือใหม่ไม่ควรกระโดดข้ามขั้นไปเล่นปั้นเก่า ควรยืนอยู่กับความเหมาะสม ซื้อปั้นชาที่ไม่แพงและเป็นดินแท้ที่ใช้งานดีเพียงพอแล้วครับ


๑๐.ขอให้เป็นแร่จื่อซาแท้ จะไม่แบ่งดีเลว ที่สำคัญคือการเหมาะกับชา ถ้าชงชาได้รสชาติ ปั้นที่ถูกๆอาจชนะปั้นศิลปินได้ แต่ปั้นใบหนึ่งจะชงชาได้รสหรือไม่ขึ้นอยู่ที่เนื้อดิน และการระบายอากาศของเนื้อดิน(หายใจ)เรื่องฝีมือ ความสนิท รูปทรง ไม่ค่อยเกี่ยวข้อง ปั้นชาจะต้องเผาให้สุกได้ที่ ถึงจะทำให้ชงชาได้รสชาติดีที่สุด การดูดน้ำและการระบายอากาศของดินต้องแยกแยะอย่างชัดเจน การดูดน้ำคือการอุ้มน้ำของปั้น( ปั้นที่ดีควรดูดน้ำได้ไม่เกิน 2 % ) การระบายอากาศคือลักษณะพิเศษของรูอากาศแบบคู่ของดินจื่อซา แต่ควรเผาให้ได้ที่ มีดินต่างถิ่นบางส่วนที่ไม่ทนไฟ และเหมือนกับฟองน้ำ ลองรินน้ำลงไปนิด ก็จะถูกดูดแห้ง ปั้นแบบนี้จะดูดน้ำมาก แต่ก็ไม่เกี่ยวข้องกับการระบายอากาศนะ มันคนละเรื่องกัน


๑๑.อย่ามัวแต่คิดว่าตนเองฉลาดกว่าคนอื่น มีปัญญากว่า หัวสมองดีกว่า ดูปัญหาได้ลุ่มลึกกว่า ตัดสินใจได้ดีกว่า มือใหม่ส่วนมากจะคิดเช่นนี้ ยิ่งเป็นพวกระดับผู้บริหารหรือนายจ้าง จะยิ่งเป็นเช่นนี้ ไม่ว่าคนอื่นจะพูดยังไง เค้าก็จะฟังไม่เข้า ว่าปัญหาอยู่ที่ไหน อย่าว่าแต่สิ่งที่ผู้อื่นสงสัย ถึงแม้เป็นเรื่องที่เจ้าตัวสงสัย เขาก็จะหาคำอธิบายที่สมเหตุผลได้ และยิ่งอธิบายก็จะยิ่งเชื่อมั่นว่าคำตอบของตนเองถูกต้อง ทำไมเหรอ เพราะว่าสิ่งที่พวกเราสงสัย เค้าได้ค้นหาคำตอบให้ตนเองไปแล้ว ในสถานการณ์เช่นนี้ คุณจะพูดยังไง เค้าก็จะไม่รับฟัง เมื่อคนเล่นปั้นหลงผิดในเส้นทางนี้ ก็ยากที่จะกลับออกมาได้ ปัญญาของคนเล่นปั้นทั้งหลายรวมกัน ยังไม่เท่าหัวเดียวของคุณเหรอ ถ้าเจอปัญหาแบบนี้ ควรจะรับฟังความเห็นของผู้อื่น



๑๒.ถ้าพบว่าแนวทางที่เล่นปั้นของตนเองมีปัญหา ถ้าไม่ใช่ว่าจะยืนหยัดหลอกตัวเอง ก็น่าจะพบข้อผิดสังเกตมานานแล้ว ควรจะหยุด เพื่อเป็นการลดความเสียหายให้เบาลง แต่อย่างว่า จุดอ่อนของคนเรา ก็ย่อมจะแสดงออกมาตอนนี้ ทำให้คุณไม่ยอมหยุดที่จะหลอกตนเอง ทำให้มีขยะเต็มบ้าน แต่จะยิ่งเล่นยิ่งเข้าใจ ราคาตามสภาพเป็นหลักความจริงที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง คุณจะยอมนำปั้นที่ดีหนึ่งใบไปแลกปั้นที่ไม่เข้าตาสิบใบเหรอ 

แปลมาจนหมดแล้วครับ อดหลับอดนอนหลายคืนเลยครับ อาจจะรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง ถูกบ้างผิดบ้าง ก็หวังว่าเพื่อนๆคงได้อะไรบ้างจากบทความตรงนี้ แต่ก็ข้อให้ใช้วิจรนยานในการอ่านด้วยนะครับ สุดท้ายขอกล่าวว่าบทความนี้ได้แปลจากบทความของคนจีนมาอีกที ส่วนตัวไม่มีความรู้พอที่จะเขียนได้หรอกครับ ขอบคุณ ฮ่าๆๆ

27 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณคุณจางสำหรับบทความดีๆน่ะครับ

    ขนาด ๒ ข้อ ยังได้ข้อคิดดีๆมากมายเลยครับ เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจดื่มชาและป้านชามากครับ

    ป.ล รูปภาพประกอบบทความนี้ ได้อารมณ์มากๆครับ ดูสงบมากๆ

    ขอบพระคุณครับ
    แวอัฟฟัล

    ตอบลบ
  2. ลึกซึ้ง

    ตอบลบ
  3. ชอบ ข้อ 9 ที่สุดเลยครับ

    ตอบลบ
  4. (ดินที่มีมาแต่โบราณ จื่อหนี ต้วนหนี หงหนี สวยที่สุดแล้ว
    ดินจื่อซามีแค่สามชนิด คือ จื่อหนี หงหนี เปิ่นซันลวี่หนี}

    ต้วนหนี เป็นจื่อซา ชนิดไหนครับ

    และ

    "ปั้นชาทรงไข่มังกรผิวส้ม
    ดิน หยีจื่อหนี ตะแกรง ๔๐ "
    หยีจื่อหนี ต่างกับ จื่อหนี อย่างไรครับ

    และช่วยอธิบายลักษณะของดินแต่ละชนิดได้ไหมครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ต้วนหนีบางคนก็เรียกเปิ่นซานลวี่ ต้วนหนีอยู่ในกลุ่มเปิ่นซานลวี่
      หยีจื่อหนีคือเอาจื่อหนีมาเผาก่อนแล้วบดใหัได้ขนาดที่ต้องการแล้วนำไปผสมกับจื่อหนีที่ไม่ได้เผาอีกทีครับ
      ถ้าอยากรู้เรื่องดินก็ลองแวะมาที่ร้านผม ผมยืมหนังสือให้อ่านก็ดีนะครับ

      ลบ
    2. หนังสือคุณจางเป็นภาษจีนไม่ใช่เหรอครับ อิอิ

      ลบ
    3. สนใจช่วงไหน ผมก็จะแปลให้ช่วงนั้นครับ มันยาว...

      ลบ
  5. ครบแล้ว ๑๒ ข้อ ลึกซึงมากๆครับ

    ทุกข้ออ่านแล้วได้แนวคิด เตือนใจ นักเล่นป้้นชามากๆครับ

    ขอบคุณคุณจางมากๆน่ะครับที่แปลให้อ่านน่ะครับ

    แวอัฟฟัล

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. คุณแวมีประสบการณ์เรื่องปั้นกะเค้าบ้างหรือปล่าว ฮ่าๆ ขอบคุณ

      ลบ
    2. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

      ลบ
    3. มีครับ สมัยยังเป็นเด็กหัดเดินครับ ฮ่าๆๆ โดนหลอกตุนจนสุก ฮ่าๆ

      ตอนนี่เป็นเด็กเริ่มเดินได้แล้วแต่ยังไม่เก่ง ยังต้องเก็บประสบการณ์ให้มากกว่านี้ครับ คงต้องให้คุณจางชี้แนะครับผม

      ขอบคุณครับ
      แวอัฟฟัล

      ลบ
    4. เดินไปพร้อมกันครับ ฮ่าๆ

      ลบ
  6. ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ ครับ อยากยืมตำราคุณจางเหมือนกัน แต่อ่านไม่ออกครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ครับ อยากรู้ตอนไหนบอกมาได้เลยครับคุณวิบูรณ์ เดี๋ยวแปลให้ แต่ก็แปลไม่เก่งนะครับ ฮ่าๆ

      ลบ
  7. ในที่สุดข้อ 10 ก็มาจนได้ "ถ้าชงชาได้รสชาติ ปั้นที่ถูกๆอาจชนะปั้นศิลปินได้ "
    ทำให้ผมมั่นใจในปั้น ทีดี รุ่น "ตราไม่ชัด" ขึ้นอีกเยอะเลย 5555

    ตอบลบ
  8. ป้านใบแรกของผม ก็คือเจ้าเขียวมะนาว จากพี่จางนี่แหละครับ ใช้ทีไรยังนึกถึงสมัยเพิ่งหัดดื่มชา

    ตอบลบ
  9. กลับมาอ่านอีกครั้ง

    ทำให้กระจ่างในเรื่องตะแกรงดิน และ การดูดน้ำ

    เหมือนที่คุณจางบอก หมั่นดูให้มาก ซื้อให้น้อย ..... ดีน่ะที่ผมได้ศึกษาดินดีๆจากร้านคุณจาง ต้องขอบคุณคุณจางที่ช่วยหาดินๆมาให้ใช้่ชงชาน่ะครับ
    ขอบคุณครับ
    แวอัฟฟัลล

    ตอบลบ
  10. คุณจางผมแอบงงนิดหน่อย คำว่า "การระบายอากาศคือลักษณะพิเศษของรูอากาศแบบคู่ของดินจื่อซา" คำว่ารูอากาศแบบคู่ มันคืออะไรครับผม

    ขอบคุณครับ
    แวอัฟฟัล

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ครับคุณแว เอาแบบง่ายๆเลยเนอะ โครงสร้าางของรูอากาศของดินจื่อซามันจะเป็นคู่ครับ ด้านหนึ่งเปิดด้านหนึ่งปิด ทำให้มนสามารถดูดน้ำและรับายอากาศได้รัดับหนึ่งครับ เข้าใจไหมครับ ฮาๆ ขอบคุณครับ

      ลบ
    2. อ่อ เข้าใจและกระจ่างมากครับ ^_^

      ขอบคุณมากครับผม

      แวอัฟฟัล

      ลบ
  11. ได้ความรู้มากครับในเนื้อความนี้ชัดเจนในการเริ่มดื่ม จนแนวคิดในการเลือกป้านชา ต้องนับหนึ่งไม่มีทางลัดกินใจมากครับ วลีนี้

    ตอบลบ