การผลิตชาผูเอ่อร์แบบโบราณและแบบหมัก
การผลิตชาผูเอ่อร์แบ่งออกเป็นสองขั้นตอน
ขั้นตอนแรก : รวมถึงการเด็ดใบชาสด คั่วชา นวด และตากแห้ง ชาที่เสร็จสิ้นขั้นตอนนี้เราจะเรียกว่าเหมาฉา ( ชากึ่งสำเร็จรูป เพราะส่วนมากจะนำไปอัดแผ่นอีกที )
ในแหล่งปลูกชาของมณฑลยูนาน ส่วนมากจะเป็นพื้นที่สูงระยะทางกันดารและห่างไกล ชาวไร่ชาที่ส่วนมากเป็นชาวเขา ส่วนมากจะทำเหมาฉาเสร็จแล้วจะขายให้โรงงานต่างๆมาเลือกซื้อไปอีกที แต่ก็มีโรงงานบางส่วนไปสร้างโรงคั่วชาใกล้ๆไร่ชา เพื่อซื้อชาสดจากชาวไร่ แล้วนำมาผลิตเป็นเหมาฉาเอง เพื่อที่จะควบคุมคุณภาพชาให้ได้มาตรฐานที่สุด
ขั้นตอนที่สอง : ตามหลักแล้วมักจะนำเหมาฉามาผ่านการนึ่งแล้วอัดแผ่น ไปจนถึงผึ่งแห้งถึงจะเสร็จสิ้นขั้นชาดิบ แผ่นชาจะเริ่มพัฒนาตนเอง นี่คือเซินฉา หรือที่เราเรียกกันว่าชาดิบ ก็คือการผลิตแบบโบราณนั่นเอง ชาดิบรสชาติจะหลากหลาย ถ้าเก็บชาให้เหมาะสม ชาก็จะพัฒนารสชาติได้ดี ชาดิบที่ได้อายุจะมีรสชาติกลมกล่อม นุ่ม ลื่น ได้รสชาติของกาลเวลา
ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ทศวรรษที่ 70 บริษัทจงฉาของรัฐบาลจีนยุคนั้นได้ทดลองการหมักชาสุกได้สำเร็จ คิดค้นชาสุกขึ้นมา พวกเค้านำเหมาฉามาพรมน้ำและกองไว้ให้เกิดการหมักตัว จุดประสงค์เพื่อที่จะทำให้ได้รสชาตินุ่มลื่นแบบชาดิบเก่า การหมักเช่นนี้ ทำให้รสชาติชาสุกที่ผ่านการหมักโดยวิธีนี้ มีความแตกต่างกับรสชาติชาดิบเก่าที่พัฒนาเองตามธรรมชาติอยู่ไม่น้อย นี่คือการผลิตชาผูเอ่อร์แบบหมัก ชาสุกที่หมักดีรสชาติ กลมกล่อม อ่อนโยน ยิ่งเก่ายิ่งนุ่ม และดีต่อสุขภาพ
ขั้นตอนการผลิตชาผูเอ่อร์นั้นมีความสำคัญทุกขั้นตอน ทุกๆขั้นตอนมีผลต่อคุณภาพชาและรสชาติ และการพัฒนาของชาในอนาคตอย่างมาก เปรียบดั่งการศึกษาของคนเรา ที่ทำให้เราก่อเกิดสติปัญญาทัศนคติและค่านิยม ๆลๆ ก็จะมีผลต่ออนาคตของคนคนนั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น